ประเทศไทยได้กำหนดมาตรการในการตรวจจับผู้ขับขี่ที่เมาสุรา โดยถือเอาระดับแอลกอฮอล์
ในเลือด เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ขับขี่ที่เมาสุรา
ที่มาของการบังคับใช้ |
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 |
มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถ (1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น (3) ในลักษณะกีดขวางการจราจร (4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือ ทรัพย์สิน (5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจ แลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน ได้พอแก่ความปลอดภัย (6) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่อง เดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ (7) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารถ คนป่วยหรือคนพิการ (8) โดยไม่คำนึ่งถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น |
โทษของเมาแล้วขับ |
พระราชบัญญัติ จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535มาตรา 30 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 160 แห่งพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน" มาตรา 160 ผู้ใดฝ่าฝืนปฏิบัติตาม มาตรา 78 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่พันบาทถึง หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 78 เป็นเหตุ ให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือตาย ผู้ ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้ง ปรับผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ (8) ต้องระวาง โทษ จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" |
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตราย สาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 390 ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตราย แก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น